ReadyPlanet.com
dot
dot
ประมวลรูปภาพ
dot
bulletงานปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2558
bulletกิจกรรมว่ายน้ำ
bulletกิจกรรมวันแม่
bulletกิจกรรมกีฬาสี
bulletเที่ยวซาฟารี
dot
แบบฝึกหัด เสริมทักษะ
dot
bulletนับเลข 1-20
bulletศัพท์ภาษาอังกฤษ ผักและผลไม้
bulletบวกเลข 1-9
bulletคำที่มักเขียนผิด
dot
นานาสาระ
dot
bulletคุณแม่ควรเตรียม....วันสอบสาธิตป.1
bulletเลี้ยงลูกไม่ให้เอาแต่ใจตนเอง”
bullet5 อาการป่วยที่ไม่ควรวางใจ
bulletห้องเรียนพ่อแม่ ตอน " การศึกษาของเด็กวัยอนุบาล"
bulletลูกไม่พูด ลูกพูดช้า ทำอย่างไรดี
bulletนิทานอาหารสมอง
bulletนิสัย 10 อย่าง ที่ทำให้สมองพัง
bulletสร้างความรู้สึกภูมิใจให้เด็กได้อย่างไร
bulletถอดรหัสความเก่งในตัวลูก
bulletลูกเรียนไม่เก่ง กลัวว่าโตขึ้นเขาจะเอาตัวไม่รอด
bulletอย่านะลูก
bulletเตรียมพร้อมหนูๆ เข้าโรงเรียนสาธิตกันเถอะ
bulletFunctional Food ทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพ
bulletกิจกรรมไหว้ครู2556
bulletกิจกรรมไหว้ครู2556
dot
คุยเรื่อง สาธิตกันดีกว่า
dot
bullet เตรียมตัวอย่างไรเพื่อให้ลูกพิชิตการสอบสาธิต
bullet ประโยชน์ที่แท้จริงของการพาลูกสอบเข้าเครือสาธิต
bulletเตรียมพร้อมหนูๆ เข้าโรงเรียนสาธิตกันเถอะ




อย่านะลูก

พฤติกรรม..อย่าทำนะลูก

 

 

 

                                                                                      

                    ‘ดูดนิ้ว แทะเล็บ เขย่าขา ดึงผมเชื่อว่าหากเจ้าหนูวัยอนุบาลมีพฤติกรรมแบบนี้ คงเป็นเหตุให้คุณแม่กลุ้มใจและประสาทเสียได้ไม่น้อยทีเดียว ถ้าอย่างนั้นเรามาค้นหาสาเหตุพร้อมวิธีแก้ไขกันค่ะ

                            

                        เหตุผลที่ระบุแบบฟันธงถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กมีนิสัยเหล่านี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ที่แน่ๆ ทราบว่าสามารถเกิดได้ทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยในเด็กระหว่าง 2 ขวบครึ่ง - 5 ขวบครึ่ง ซึ่งตามทฤษฏีพัฒนาการเด็กกล่าวว่า เมื่อเด็กมีวุฒิภาวะมากขึ้น ร้อยละ 90 จะเลิกนิสัยเหล่านี้ได้เอง แต่ถ้าไม่หายอาจส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพในอนาคตได้ค่ะ

 

ดูดนิ้ว...เพราะเคยชิน

                  เด็กกว่าร้อยละ 60 รู้จักดูดนิ้วมาก่อนอายุ 1 ขวบแล้วค่ะ การดูดนิ้วจะเป็นเหมือนสิ่งที่ทดแทนความต้องการของจิตใจ เช่น ยามเหงา ว้าเหว่ เพราะทำให้เพลิดเพลินและรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้ดูดนิ้วตัวเอง แต่ถ้าทำบ่อยๆ ก็จะเกิดเป็นความเคยชินได้ค่ะ

ปกติเมื่อเข้าสู่วัยอนุบาลเด็กมักจะเลิกดูดนิ้วได้เองเพราะอายเพื่อนค่ะ เวลาอยู่ต่อหน้าเพื่อนก็จะไม่ทำ ทำให้ค่อยๆ ลดพฤติกรรมนี้ไปได้ อย่างไรก็ตามในวัย 3-5 ขวบนี้ หากลูกยังดูดนิ้วอยู่ คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าตกใจหรือหมดหวังนะคะ เพราะส่วนใหญ่มักเลิกไปเองเมื่ออายุราว 5 ขวบ แต่ก็ใช่จะนิ่งนออนใจ เพราะหากยังมีการดูดนิ้วต่อไปอีกจนกระทั่งอายุ 6-7 ขวบ ก็จะส่งผลเสียงต่อฟัน ทำให้ฟันเหยิน ฟันห่าง และมีผลต่อการออกเสียงได้ค่ะ

 

กลยุทธ์รับมือ

                  - วิธีการช่วยลูกให้เลิกดูดนิ้ว คุณพ่อคุณแม่อาจจะคุยกับลูก แต่ไม่ใช่การขู่หรือดุด้วยเสียงดัง ควรชี้ให้เขาเห็นผลเสียของการดูดนิ้วที่เข้าใจได้ง่ายๆ เช่น ทำให้นิ้วเหี่ยว เป็นแผล เลือดออก ฟันยื่น พร้อมแสดงความรักและความห่วงใยให้ลูกรู้ด้วย

                 - ใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจ โดยการหาของเล่นที่ต้องใช้มือ ก็จะช่วยให้ลูกลืมการดูดนิ้วไปได้ค่ะ หากลูกดูดนิ้วในสถานที่ที่มีคนเยอะๆ อย่าดุลูกนะคะ แต่ควรจับมือลูกเบาๆ แล้วค่อยๆ ดึงออกมา

                - อย่าลืมดูแลเรื่องความสะอาดของมือและเล็บของลูกด้วยนะคะ

 

แทะเล็บ...เก็บอารมณ์

                 อาการกัดหรือแทะเล็บจะพบบ่อยในเด็กวัย 3-6 ขวบ เด็กบางคนเริ่มต้นด้วยการแคะเล็บก่อน เมื่อโตขึ้นก็จะเลิกได้เอง ขณะที่เด็กบางคนไม่เลิก ด้วยภาวะทางด้านจิตใจ เช่น เครียดหรือกังวลที่อาจเกิดจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างดูหนังที่ตื่นเต้นสยองขวัญ ซึ่งเป็นการแสดงออกตามพัฒนาการและภาวะเก็บกดในจิตใจ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยลูกใช้วิธีนี้เพื่อแสดงความรู้สึกนะคะ เพราะลูกอาจติดนิสัยจนเลิกยาก ดังนั้นเมื่อเห็นลูกเริ่มแสดงอาการนี้ถี่ขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรรีบทบทวนดูว่าลูกมีเรื่องเครียดอะไร ที่เป็นสาเหตุให้ทำพฤติกรรมนี้ซ้ำๆ นั้นหรือเปล่า จะได้แก้ไขได้ถูกทางค่ะ

 

กลยุทธ์รับมือ

-ไม่ควรแก้ที่พฤติกรรมซึ่งเป็นปลายเหตุ แต่ควรแก้ที่อารมณ์ของลูก โดยมองข้ามพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนี้ แล้วพุ่งประเด็นไปที่การพัฒนาอารมณ์ลูกให้ดีอยู่เสมอ

-การจะแก้พฤติกรรมนี้ควรให้ลูกได้มีส่วนรับรู้ โดยสร้างแรงจูงใจในทางบวก เช่น ใช้วิธีให้ดาว โดยบอกว่า "ถ้าวันนี้หนูไม่กัดเล็บเลย หนูจะได้หนึ่งดาว" เป็นการเสริมกำลังใจให้ลูกอยากทำดี ใช้ได้ผลกับช่วงอายุ 2-4 ขวบ สำหรับเด็กโตกว่านี้ต้องทำข้อตกลงร่วมกัน

-หากลูกกำลังจะกัดแทะเล็บ ควรชักชวนให้เขาพูดคุย ร้องเพลง ปรบมือ เล่นดนตรีที่ใช้มือและปาก

-ให้เขาภูมิใจในเล็บสวย คุณแม่อาจจะชวนลูกสาวแช่นิ้วในน้ำอุ่นๆ ทำความสะอาดและนวดนิ้วมือและเล็บด้วยน้ำมันมะกอกเบาๆ เพื่อให้ผิวหนังบริเวณรอบๆ อ่อนนุ่ม และหากเล็บยาวก็ชักชวนให้เขาตัดเล็บค่ะ

 

เขย่าขา กระตุ้นตัวเอง

การเขย่าขาเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปเห็นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ จะสังเกตเห็นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ที่พบในเด็กวัยอนุบาลค่ะไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติร้ายแรงอะไร

ต้นเหตุของอาการขาอยู่ไม่สุขก็คือ ความเบื่อ ที่เราเห็นเด็กเขย่าขาก็เพราะเขาต้องการหาอะไรทำเพื่อกระตุ้นให้ตัวเองมีกิจกรรมทำตลอดเวลา เมื่อทำบ่อยๆ ก็จะเกิดความเคยชิน จนกลายเป็นนิสัย

 

กลยุทธ์รับมือ

- หากิจกรรมอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจของลูก เช่น พาไปออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬา พยายามอย่าไปจ้ำจี้จำไชว่าสิ่งที่ลูกทำนั้นเป็นเรื่องผิดมหันต์

- คุณพ่อคุณแม่บางคนก็ใช้อาการนี้ให้เป็นประโยชน์ด้วยการส่งเสริมให้เขาเล่นดนตรีประเภทกลองแทนค่ะ

 

การเขย่าขามักเป็นการกระตุ้นตัวเองเพียงแค่คั่นเวลามิให้เบื่อ แต่ก็มีเด็กที่กระตุ้นตัวเองในลักษณะอื่นที่ค่อนข้างรุนแรงเพื่อเรียกร้องความสนใจ บางคนเอาหัวโขกพื้นหรือโขกฝาแล้วแต่ว่าอะไรอยู่ใกล้ตัว เด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่พบว่ามีการแสดงออกในลักษณะนี้ด้วย คือกลุ่มสมาธิสั้น ซึ่งมักอยู่นิ่งๆ ไม่ค่อยจะได้

ดังนั้นหนทางแก้ไขพฤติกรรมนี้สำหรับคุณพ่อคุณแม่ จะต้องทำความเข้าใจพื้นฐานอารมณ์ของลูกว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริง

 

ดึงผม แก้เซ็ง

                     เวลาว่างๆ หรือเครียดๆ เราเคยถอนผมเล่นกันบ้างหรือเปล่าคะ ถ้าเป็นล่ะก็! เด็กก็เป็นได้ค่ะ ถือเป็นพฤติกรรมที่มีปัญหาด้านอารมณ์แฝงอยู่ ซึ่งเด็กที่แสดงอาการเช่นนี้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยพูด อดทนและไม่ค่อยแสดงออก เมื่อมีปัญหาก็จะแก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้

การถอนผมเล่นของเด็กนั้นถ้ามีไม่มาก ก็มีสิทธิ์จะหายเองเหมือนพฤติกรรมอื่นๆ แต่ถ้าเห็นว่าผมของลูกหายเป็นหย่อมจนกลายเป็นวงขาว ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่า เขามีความผิดปกติทางจิตใจ เรียกว่า โรคทิโชทิโลมาเนีย (Trichotilomania) คือ โรคที่ไม่สามารถควบคุมความต้องการที่พุ่งขึ้นมาจากภายในได้ ซึ่งพบได้ตั้งแต่เด็กวัยเรียนไปจนถึงผู้ใหญ่ทีเดียว

 

กลยุทธ์รับมือ

-หาสาเหตุและค่อยๆ แก้ปัญหาไปทีละเปลาะค่ะ เช่น มีน้องใหม่ ย้ายบ้าน หรือไม่มีเพื่อน หากมีปัญหาตรงไหนก็แก้ตรงนั้น

-ใกล้ชิดกับลูกให้มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าหาลูกให้มากขึ้น อย่าปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียว ควรชวนลูกทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เข้าครัว ปลูกต้นไม้ ทำงานบ้านร่วมกัน ซึ่งหากลูกมีเพื่อนเล่นก็จะลืมอารมณ์เหงาไปได้ค่ะ

- ส่งเสริมลูกให้ได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เน้นการพูดคุยให้ลูกสบายใจด้วยค่ะ

ใครมีลูกอยู่ในวัยนี้อย่านิ่งนอนใจนะคะ หากสังเกตเห็นเจ้าตัวเล็กมีอาการดังกล่าว แล้วไม่มีทีท่าจะหาย คงต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อหาทางแก้ไขค่ะ

 

พ่อแม่คือคนสำคัญ

หากพ่อแม่หมดความอดทนและใช้ถ้อยคำที่รุนแรง หรือแสดงความไม่พอใจเพื่อยุติหรือเอาชนะพฤติกรรมเหล่านี้ของลูก มักไม่ได้ผล นอกจากจะทำให้เด็กกลัวจนไม่แสดงพฤติกรรมที่ดีๆ แล้ว ยังจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมถดถอยในเด็ก และขัดขวางการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยค่ะ

การจะส่งเสริม กระตุ้น หรือการปรับเปลี่ยนนิสัยของลูกให้ดีขึ้นนั้น พ่อแม่ต้องเชื่อมต่อให้เขาเรียนรู้พฤติกรรมที่เหมาะสมได้ด้วยตัวเอง การชี้นำต้องค่อยเป็นค่อยไป ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเต็มที่ ได้เห็น ได้ฟัง ได้สัมผัส ได้ดมกลิ่นและชิมรสชาติ โดยทำให้เป็นตัวอย่างก่อน เพียงแค่ปลีกเวลามาใกล้ชิดกับลูกมากขึ้น โดยหากิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้สัมผัสทั้งห้า โดยเฉพาะมือเพื่อหันเหความสนใจจากความเศร้ากังวลและยามว่าง เช่น กิจกรรมวาดรูป ระบายสี เล่นตัวต่อ ขี่สามล้อ เล่นเกมซ่อนมือ รับลูกเทนนิส ต่อโมเดล หรือปลูกต้นไม้ เป็นต้น

ฝึกกิจกรรมดีๆ ให้เคยชิน นิสัยดีๆ ก็จะเกิดค่ะ...

 

เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวนการศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 กรมสุขภาพจิต

 

จาก:

 

 

< กลับ

 

                        







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
โรเงรียนอนุบาลเศรษฐบุตร โทร 0-2579-2061, 0-2561-2444, 0-2941-1147 Email Setthabutk@hotmail.com Line ID: Sethaputra