ReadyPlanet.com
dot
dot
ประมวลรูปภาพ
dot
bulletงานปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2558
bulletกิจกรรมว่ายน้ำ
bulletกิจกรรมวันแม่
bulletกิจกรรมกีฬาสี
bulletเที่ยวซาฟารี
dot
แบบฝึกหัด เสริมทักษะ
dot
bulletนับเลข 1-20
bulletศัพท์ภาษาอังกฤษ ผักและผลไม้
bulletบวกเลข 1-9
bulletคำที่มักเขียนผิด
dot
นานาสาระ
dot
bulletคุณแม่ควรเตรียม....วันสอบสาธิตป.1
bulletเลี้ยงลูกไม่ให้เอาแต่ใจตนเอง”
bullet5 อาการป่วยที่ไม่ควรวางใจ
bulletห้องเรียนพ่อแม่ ตอน " การศึกษาของเด็กวัยอนุบาล"
bulletลูกไม่พูด ลูกพูดช้า ทำอย่างไรดี
bulletนิทานอาหารสมอง
bulletนิสัย 10 อย่าง ที่ทำให้สมองพัง
bulletสร้างความรู้สึกภูมิใจให้เด็กได้อย่างไร
bulletถอดรหัสความเก่งในตัวลูก
bulletลูกเรียนไม่เก่ง กลัวว่าโตขึ้นเขาจะเอาตัวไม่รอด
bulletอย่านะลูก
bulletเตรียมพร้อมหนูๆ เข้าโรงเรียนสาธิตกันเถอะ
bulletFunctional Food ทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพ
bulletกิจกรรมไหว้ครู2556
bulletกิจกรรมไหว้ครู2556
dot
คุยเรื่อง สาธิตกันดีกว่า
dot
bullet เตรียมตัวอย่างไรเพื่อให้ลูกพิชิตการสอบสาธิต
bullet ประโยชน์ที่แท้จริงของการพาลูกสอบเข้าเครือสาธิต
bulletเตรียมพร้อมหนูๆ เข้าโรงเรียนสาธิตกันเถอะ




ห้องเรียนพ่อแม่ ตอน " การศึกษาของเด็กวัยอนุบาล"

      สวัสดีคะ คุณพ่อคุณแม่  ครูปัทได้ไปพบข้อมูลนี้ในอินเตอร์เนต  (www.pantip.com)อ่านแล้วคิดว่าคงมีประโยชน์กับผู้ปกครองจึงนำมาเผยแพร่  ผู้เขียน(คุณมุก )ได้เล่าถึงการสัมมนา  โดยผู้ให้ความรู้ได้แก่  ดร.วรนาท  รักสกุลไทย  ครูใหญ่โรงเรียนอนุบาลเกษมบัณฑิต   ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการศึกษาอนุบาลมากคนหนึ่งในประเทศไทย   โดยเนื้อหามีดังนี้................             

 

                      

            ห้องเรียนพ่อแม่ ตอน การศึกษาของเด็กวัยอนุบาล

 

              วันศุกร์ที่แล้ว โชคดีมากๆ ที่เคลียร์งานทัน เพราะทางโรงเรียนมีจัดกิจกรรมห้องเรียนพ่อแม่ โดยได้เชิญดร.วรนาท รักสกุลไทย ซึ่งเป็นทั้งอาจารย์และนักวิชาการที่มีความสำคัญต่อวงการศึกษาไทยมากๆ สำหรับคลาสนี้ มุกเองก็เดาเอาไว้อยู่แล้วว่า คนคงจะเยอะมาก เพียงแต่ไม่นึกว่า จะถึงขนาดเต็มห้อง

              ดร.วรนาทหรือพี่หนูของคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย เป็นคนที่น่ารักมากๆ ค่ะ ท่านเป็นคนใจดี มีความรู้เยอะ และที่สำคัญ วิธีการที่ท่านเล่าและสอนความรู้ให้กับคนฟังนั้น ทั้งสนุก ไม่น่าเบื่อ จนเวลาผ่านไปเกือบสองชั่วโมงแบบไม่ทันจะรู้ตัว ขนาดว่าหมดคลาสแล้ว มุกยังอดที่จะนัวเนียๆ ขอนั่งคุยนั่งฟังท่านเล่าโน่นเล่านี่ นอกคลาสอีกเกือบๆ 15 นาทีแหนะ แหะๆ คุ้มเลย

               มุกคิดว่า การที่พ่อแม่หลายๆ คนที่ยอมเสียเวลามานั่งฟัง เพราะคงอยากได้คำตอบให้กับคำถามในใจ สำหรับลูกในวัยอนุบาล ว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะสม อะไรคือสิ่งที่ควรเสริมใส่ให้ ควรเลิกละเว้น และทิศทางของการเอาลูกเรียนแบบแนวเตรียมความพร้อม( บูรณาการ)จะส่งผลอย่างไร ซึ่งก็ไม่ผิดหวังจริงๆ ค่ะ มุกเลยขออนุญาตรวบรวมข้อมูลออกมาให้เป็นข้อๆ อาจจะไม่ได้ต่อเนื่องกันมากนัก แต่จะพยายามเรียบเรียงให้อ่านได้ง่ายๆ และหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์มาแชร์ให้กับพ่อแม่ห้องนี้ สำหรับลูกในวัยแบบนี้ (ออกตัวไว้ก่อนเลยว่า ข้อมูลที่เขียนต่อจากนี้ เก็บจากการฟังเมื่อวันศุกร์ได้ประมาณ 90% ส่วน 10%ที่เหลือนั้น มัวแต่หัวเราะค่ะ)

               สิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับเด็กวัยอนุบาล คือการไม่เร่งรัดให้เค้าเรียนรู้อะไรมากๆ และไม่คาดหวังว่า เค้าจะต้องเก่งอย่างคนนั้น คนนี้ หรือทางนั้น ทางนี้ เพราะเด็กแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน คนเป็นพ่อเป็นแม่ ต้องสังเกตให้ได้ว่า ลูกของตนเก่งทางไหน การศึกษาของไทย ถูกวางระบบไว้ให้ เด็กวัยอนุบาลควรจะเรียนรู้แบบองค์รวม คือใช้ทุกส่วนของร่างกายในการเรียนรู้ (ยกตัวอย่างตามที่เคยได้คุยกับครูของลูก การจะรู้จักส้ม เด็กต้องได้มองด้วยตา ดมด้วยจมูก จับด้วยนิ้วและมือ หัดปอกแกะเปลือกเพื่อเสริมทักษะของกล้ามเนื้อมันเล็ก ได้ชิมรสชาติ จัดจำแนกถูกว่าเป็นอย่างไร เปรี้ยว หวาน รวมไปถึงคายเมล็ดทิ้งและเรียนรู้ว่า ทานได้หรือไม่) และผ่านกระบวนการเล่นเป็นหลัก

               และจริงๆ เด็กจะอ่านออกเขียนได้ ควรจะเริ่มที่ ประถมหนึ่ง ไม่ใช่อนุบาลหนึ่ง เพราะหลักสูตรมันกำหนดไว้แบบนั้น เป็นหน้าที่ของครูประถมโดยตรงในการที่จะสอนเด็กให้อ่านเขียนภาษา และรู้จักตัวเลขการนับบวกลบ แต่ในความคิดส่วนตัว (ย้ำว่า ส่วนตัว) มุกเชื่อว่าคงเป็นเพราะการแข่งขันที่มันมีมากขึ้นทุกวัน ทำให้ โรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่ เปลี่ยนทิศทางไปในเรื่องของการเน้นวิชาการมากกว่าการเตรียมความพร้อมของเด็ก เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่ก็คงอยากให้ลูกเข้าโรงเรียนดีๆ มีชื่อ เน้นวิชาการ แบบที่ว่า จบม.ปลายแล้ว โอกาสสอบติดมหาลัยดีๆ ได้

อาจารย์หนูบอกว่า จริงๆ แล้วการเรียนแนวบูรณาการนั้น มีมาตั้งแต่สมัยในหลวงของเรายังทรงพระเยาว์ คลาสของ Mrs. Davis ที่ท่านได้ทรงศึกษาด้วยนั้น ไม่มีการสอนหนังสือ มีแต่การวาดรูป ระบายสี ตัดกระดาษ และหัดใช้กาว ซึ่งก็เพราะเหตุนี้เอง ถึงได้ทรงมีพระอัจฉริยะภาพในด้านต่างๆ อย่างมากมาย เพราะท่านไม่ได้ถูกจำกัดในเรื่องของระบบความคิด และจินตนาการตั้งแต่ แรกเริ่มของการเรียนรู้
                  เด็กวัยอนุบาล ควรจะเรียนรู้ผ่านกระบวนการเล่น ถ้าพ่อกับแม่อยากจะเสริมทักษะที่ดีให้กับลูก และเข้าใจส่งเสริมเค้าให้มีพัฒนาการที่ดี พ่อกับแม่จะต้องมองให้ออกว่า ของเล่นทุกอย่างนั้นมีประโยชน์ ไม่ใช่แค่ไร้สาระไปวันๆ พ่อแม่ที่เข้าในคลาสนี้ได้มีโอกาสทำ workshop เล็กๆ โดยการดูรูปภาพการเล่นของเด็กพิเศษ(พิการ) หลายๆ กลุ่ม และตีโจทย์ออกมาว่า มันมีประโยชน์ด้านใดบ้าง ซึ่งมุกเชื่อว่า หลายคนคงรู้สึกแปลกใจ (รวมทั้งตัวมุกเองด้วย) เพราะของเล่นหลายๆ อย่างให้ประโยชน์มากกว่าแค่ สนุก เท่านั้น ทั้งการฝึกสมาธิ จิตใจ การรู้จักเคารพกฏกติกา การให้อภัย แบ่งปัน รอคอย อดทน ความคิดสร้างสรร จินตนาการ การฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก มันใหญ่ ทักษะทางคณิตศาสตร์การจัดจำแนก ตัวเลข สี ขนาด ลักษณะ อีกสารพัดจะมีค่ะ ซึ่งถ้าพ่อแม่มองออก และส่งเสริมให้ลูกรู้จักเล่นของเล่น หรือมีกิจกรรมที่ดีร่วมกัน เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีมากในทุกด้าน ขอยกตัวอย่างของเล่น หรือกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำร่วมกับลูกได้นะคะ (ซึ่งจริงๆ แล้ว ตรงจุดนี้ น้องๆ ที่เรียนด้านวิชาการก็สามารถปรับเล่นได้ค่ะ เพราะได้ประโยชน์และไม่ขัดกับหลักการสอนของโรงเรียนด้วย)

                การระบายสีของเด็กวัยอนุบาล – ไม่ควรเป็นรูปภาพ หรือมีกรอบ มีเส้น ควรเป็นกระดาษเปล่าๆ และปล่อยให้ลูกได้ลองลงสีตามใจชอบ จะสามารถเปิดระบบความคิด จินตนาการของเค้าได้อย่างกว้างไกล เมื่อเวลาผ่านไป เด็กๆ จะค่อยๆ เรียนรู้เองว่า ควรจะลงน้ำหนักมากแค่ไหน หรืออยากจะใช้สีแบบไหน สำหรับรูปแบบนี้ การที่เราไปสอนเค้าว่า อย่าระบายสีเลยเส้นนี้สิ หรือให้ระบายสีในวงกลมนี้เท่านั้น เป็นการตำหนิ และจะทำให้เด็กรู้สึกเสียความเชื่อมั่นในตนเอง รวมถึงไม่กล้าจะคิดออกนอกกรอบ กำลังใจและคำชมเป็นสิ่งสำคัญมากๆ สำหรับการสร้างศิลปินตัวน้อยค่ะ แต่จากที่มุกเองเคยคุยกับครูของลูก ที่โรงเรียนเค้าจะไม่ได้บังคับ ว่าของอันนี้ต้องเป็นสีนี้เท่านั้น เช่นใบไม้ต้องสีเขียว ลำต้นต้องสีน้ำตาล เพราะในโลกความเป็นจริง ใบไม้ที่เด็กๆ ได้มอง สามารถเป็นได้ทั้ง เขียว เหลือง น้ำตาล(ตอนแห้ง) ก็ได้ เพราะฉะนั้น เวลาเราจัดหารูปภาพให้ลูกระบายสี (ควรจะเป็นสีเทียนแท่งอ้วนๆ เพราะจะเหมาะกับลักษณะการจับของเด็กวัยนี้) เราไม่ควรจะชี้นำว่า ผมต้องเป็นสีนี้ บ้านต้องเป็นสีนั้น รถต้องเป็นสีนี้ ให้เค้าได้เลือกตามแต่จินตนาการเค้าจะพาไปค่ะ

               การอ่านหนังสือ – วัยนี้เป็นวัยสำคัญมากๆ ที่พ่อแม่ ถ้าพอจะมีเวลา ควรอ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกวัน หรือบ่อยเท่าที่จะทำได้ เวลาอ่าน ควรมีน้ำเสียงหนักเบา หรือทำหลายๆ เสียงเพื่อเพิ่มความสนุก เลือกหนังสือที่มีตัวอักษรน้อยๆ ชี้ตัวอักษรให้ลูกดูตาม การทำแบบนี้ไม่ใช่แค่ให้ลูกได้รู้จักตัวอักษรและการจดจำ แต่เพื่อให้รู้ด้วยว่า หลักการเขียนการพิมพ์อักษรของเรานั้น เริ่มจากซ้ายไปขวา ซึ่งพอเค้าชิน เค้าจะเริ่มต้นการอ่านได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ควรให้ลูกได้มีโอกาสเลือกหนังสือที่ตัวเองชอบบ้างไม่ใช่พ่อหรือแม่ต้องเลือกให้ทุกครั้งไป ลูกอาจจะมีหนังสือเล่มโปรดของเค้า ซึ่งถ้ามี เค้าจะจดจำตัวอักษรได้เร็วขึ้น เมื่ออ่านเสร็จ ควรมีการตั้งคำถาม ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร แบบง่ายๆ หรือเป็นคำถามเปิด เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะสรุปใจความ ฝึกความจำ และการเชื่อมต่อความเข้าใจ อีกอย่างหนึ่งที่ควรจะทำมากๆ คือ การอ่านชื่อหรือประวัติของผู้เขียน ผู้แต่ง ผู้แปล และผู้วาดภาพประกอบ เพื่อให้ลูกได้รู้ว่า หนังสือนั้น ไม่ได้ถูกเนรมิตขึ้นมา แต่ต้องอาศัยความสามารถของคนหลายๆ กลุ่ม ทำงานกันเป็นทีม และเราต้องเรียนรู้ผู้สร้างงานศิลปะ ตรงจุดนี้เด็กจะค่อยๆ ซึมซับความคิดของความสร้างสรร ไม่ลอกเลียนใคร และจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการที่จะไม่ คอรัปชั่นในอนาคต (ตอนฟังก็อึ้งไปเหมือนกันว่า มันโยงไปได้ไกลมากๆ )

             JIGSAW – เป็นของเล่นอย่างนึงที่มีประโยชน์มาก สามารถทำเองที่บ้านได้ง่ายๆ โดยใช้รูปภาพที่ลูกชอบ อาจจะเป็นรูปวิว รูปครอบครัวที่ลูกประทับใจ (แต่ถ้าเป็นรูปครอบครัว ต้องรู้จักระวังอย่าไปตัดตรงหน้า เพราะเด็กบางคนอาจจะ sensitive พาลไม่ชอบไปเลยก็ได้ค่ะ 555) เพราะเด็กจะมีกำลังใจที่จะประกอบให้มันเสร็จสำเร็จเป็นรูปเดิม มันเป็นของเล่นอย่างนึงที่ ช่วยได้หลายๆ เรื่อง ทั้งการฝึกสมาธิ ความอดทน และการเชื่อมต่อของความเข้าใจ ความจำ

              บล็อคไม้ – จากการวิจัย บล็อคไม้ชนิดที่ไม่มีสี เป็นของเล่นที่สร้างสรรจินตนาการได้สุดๆ และเกิดประโยชน์ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และดีกว่าพวก เลโก้ที่มีรูปทรงตายตัว หรือแบบเฉพาะในการต่อ ( แต่อันนี้ โดยส่วนตัว มุกก็คิดว่า มันก็มีประโยชน์ทั้งคู่นะคะ เพราะอย่างพวกตัวต่อสำเร็จรูป ถ้าเด็กๆ รู้จักปรับแปลงรูปร่าง มันก็สามารถสร้างงานได้หลายอย่างมากๆ )

              นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมในบ้านบางอย่างที่สามารถทำไปพร้อมกับให้ความรู้ลูกได้ เช่นการสอนลูกตากเสื้อผ้า ลูกจะเรียนรู้เรื่องการจัดจำแนก สี ขนาด และ ความเป็นคู่ (เช่นถุงเท้า) สามารถสอนเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วยว่า ทำไมจากผ้าเปียกกลายเป็นผ้าแห้งได้  การเก็บของเข้าที่ เช่นกลับจากซุปเปอร์มาร์เก็ต สอนลูกให้รู้ว่า อะไรควรเก็บที่ไหน เพราะอะไร รวมไปถึงการช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำครัวด้วยค่ะ

 

             สำหรับคำถามที่ว่า เด็กที่เรียนแบบเตรียมความพร้อมอย่างนี้ จะสามารถเข้าเรียนประถมหนึ่งในโรงเรียนแนววิชาการได้หรือไม่ อาจารย์วรนาทท่าน ฟันธงค่ะว่า ได้อย่างแน่นอน แต่จะต้องทำใจว่า 6 สัปดาห์แรกในโรงเรียนใหม่ คงจะเป็นอะไรที่ยากสำหรับเด็กเกือบๆ ทุกคน ไม่เฉพาะกับเด็กเตรียมความพร้อม(หรือบูรณาการ) แต่โดยส่วนใหญ่เด็กแบบนี้จะผ่านไปได้อยู่แล้ว เนื่องจากในหลักสูตรของอนุบาลแนวเตรียมความพร้อม เด็กทุกคนก็จะอ่านออกเขียนได้อยู่ดี ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกสอนมาแบบเดียวกันก็ตาม (ตอนแรกมุกก็ไม่ค่อยจะเชื่อ แต่ตอนนี้เริ่มเห็นพัฒนาการ อย่างลูกสอง ตอนนี้เริ่มมี ขีดเขียนออกมาเป็นตัวอักษรบ้างแล้ว ถึงแม้จะยังดูไม่ค่อยออกว่าเป็นตัวอะไร แต่พอไปดูงานของเด็กอ.2-3 โอ้โห เขียนกันเป็นเรื่องเป็นราวเลย) ข้อดีอีกอย่างคือเด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีจิตที่ค่อนข้างจะเข้มแข็ง (พ่อแม่ต้องมีส่วนช่วยในการให้กำลังใจด้วยค่ะ) และมีระบบการเข้าสังคมที่ดี แต่อย่างไรก็ตามพ่อแม่ก็ควรจะศึกษาโรงเรียนนั้นๆ ด้วยว่า เหมาะสมกับลูกมั้ย เช่นถ้าว่า สุดโต่งชนิดที่เข้าป.1 สามารถบวกลบเลขสามหลักหรือผสมคำได้อย่างซับซ้อนแล้วละก็ อันนี้คงจะต้องพึ่งพ่อกับแม่เองว่า จะเก่งคณิตศาสตร์มากแค่ไหน (ฟังทีแรกก็งงๆ ฟังไป.....อ้อ......หมายถึง แปะเจี้ยะ นั่นเอง)

           อาจารย์วรนาท ท่านมีข้อเสริมนิดนึงว่า ใจจริง ท่านสนับสนุนให้แต่ละบ้านมีลูกกัน 2 คนอย่างน้อยๆ เพราะเด็กๆ จะมีพัฒนาการทางสังคมได้ไวและดีกว่า แต่ถ้าสมมติว่ามีลูกคนเดียวได้แค่นั้น ก็ควรจะส่งเสริมให้ลูกเริ่มเข้าสังคม เช่นเล่นกับญาติพี่น้อง หรือเพื่อนบ้าน ให้ได้เจอพบปะผู้คนบ่อยๆ และเรียนรู้การ แบ่งปัน เคารพกติกาตั้งแต่ยังเล็กๆ ก็จะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมได้เช่นเดียวกันกับบ้านที่มีลูกหลายคนค่ะ

            นอกจากนี้ ยังมีคำถามอื่นๆ เช่นว่า ถ้าลูกชายวัยอนุบาลชอบใส่รองเท้าส้นสูงของแม่เล่น จะทำให้เป็นตุ๊ดหรือไม่ อาจารย์ท่านบอกว่า เด็กผู้ชายหลายคนที่ชอบเล่นของแต่งตัวของแม่ โดยเฉพาะรองเท้าส้นสูง (ไอ้ภิ๋งก็เป็นค่ะ) ไม่ต้องไปกลัว เพราะที่เค้าทำคือ ชอบที่จะได้ฟังเสียงส้นกระทบพื้นเท่านั้น กว่าเด็กจะบอกได้ว่า อยากเป็นหญิงหรือชาย ต้องเลย 6 ขวบขึ้นไปค่ะ ถึงจะดูออก เพราะฉะนั้นถ้าใครมีลูกชายวัยเล็กๆ ที่เป็นแบบนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องไปดุเค้าแรงๆ เพียงแต่บอกว่า อย่าทำเพราะจะอันตราย หกล้มได้ง่าย จะดีกว่าที่จะกลัวว่า เค้าจะเบี่ยงเบนทางเพศในวัยเท่านี้หรือเมื่อโตขึ้น

            พ่อแม่บางคนถามว่า การเลี้ยงลูกวัยอนุบาลโดยใช้สองภาษาดีหรือไม่ อาจารย์บอกว่า จากที่ศึกษาผ่านงานวิจัย คุยกับหมอเด็ก และจากประสบการณ์ บอกได้เลยว่า ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะบางครั้งเด็กจะจดจำได้แบบนกแก้วนกขุนทองมากกว่า การเข้าใจถึงภาษาที่สองนั้นจริงๆ  เราสามารถให้ลูกเริ่มเรียนภาษาที่สอง เมื่อเริ่มขึ้นป.1 ก็ไม่สายเกินไป เพราะวัยนี้ เด็กจะค่อนข้างเข้าใจภาษาแม่ได้อย่างลึกซึ้งแล้ว และจะสามารถเชื่อมโยงเอาภาษาที่สองกับภาษาแม่ได้ไปเองโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม ตรงนี้เป็นแค่ความเห็นส่วนตัว ไม่ได้หมายความว่า ไม่ควรจะเรียนเลย เพราะถ้าหากพ่อแม่บางคนสามารถพูดคุยกับลูกโดยใช้ภาษาที่สองได้บ้างเวลาอยู่ที่บ้าน หรือในชีวิตประจำวัน ก็จะทำให้การเชื่อมโยงความเข้าใจนั้น เร็วขึ้นและมากขึ้นตามไปด้วย

             มีพ่อแม่หลายคนเข้าใจผิดว่า ลูกเมื่อขึ้นป. 1 แล้วเป็นเด็กโตแล้ว  ถ้าลองมองดีๆ เค้าโตกว่าเด็กอนุบาลสามแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น ดังนั้นจึงมีพ่อแม่ไม่น้อย ที่คาดหวังกับลูกสูงมากๆ และเร่งรัดให้ลูกเรียนรู้เยอะๆ ซึ่งสุดท้ายก็ไม่เป็นสิ่งที่ดีให้กับเด็กๆ เลยค่ะ

             ส่วนสำหรับทิศทางของการศึกษาไทยในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไรนั้น อาจารย์หนูท่านบอกว่า ICT จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นเราคงจะห้ามไม่ให้เด็กอยู่กับเทคโนโลยีไม่ได้ ต่อให้เป็นการเรียนแบบเตรียมความพร้อมในวัยอนุบาลซึ่งไม่มีเรื่องของการสอนคอมพิวเตอร์ แต่กลับบ้านเด็กก็รู้จักอยู่ดี และถ้าใช้ให้เป็น มันก็เป็นตัวเสริมความรู้อย่างนึง เพียงแต่พ่อกับแม่จะต้องรู้ให้เท่าทันเทคโนโลยี และมีกฏเกณฑ์ที่แน่นอนกับลูกในการใช้ ถ้าเริ่มได้ตั้งแต่เล็กๆ ก็ดี เพราะลูกจะติดเป็นนิสัยเมื่อโตขึ้น ก็จะยังคงเคารพกฎกติกานั้นๆ ได้มากกว่า การไม่ตั้งกฏอะไรเลย

            สำหรับเรื่องของการดูทีวี อาจารย์หนูบอกว่า เอาจริงๆ นะ เด็กวัยอนุบาลไม่ควรได้ดูทีวี เกินครั้งละ 15-20 นาทีด้วยซ้ำ ตอนที่มุกถามเรื่องนี้นอกรอบ แม่ๆ ที่นั่งฟังอยู่ด้วย หันมายิ้มๆ กัน เหมือนจะเข้าใจกันว่า 15-20 นาที ยังไม่มันส์ ไม่สะใจไอ้แสบที่บ้านเลยค่า เพราะขนาดมุกบอกว่า ไอ้สองแสบของมุกไม่ชอบการ์ตูนนะ ไม่เคยร้องขอดู แต่จะชอบสารคดีเรื่องสัตว์มากๆ ซึ่งขนาดเราคิดว่ามันมีประโยชน์เยอะ ท่านยังบอกว่า ที่มุกให้ลูกดูครั้งละครึ่งชั่วโมง-หนึ่งชั่วโมงนั้น มากเกินไป แต่ท่านก็เข้าใจว่า มันเป็นอะไรที่ค่อนข้างจะจำกัดได้ยาก เพราะทีวีเป็นเหมือนส่วนนึงของ lifestyle ในชีวิตคนสมัยนี้ เพียงแต่ถ้าพ่อแม่นั่งอยู่ด้วย ดูไปชวนกันคุย อธิบายไป มันก็จะมีประโยชน์มากกว่าการปล่อยให้ลูกอยู่กับทีวี อีกอย่าง รายการทีวีสำหรับเด็กๆ มันสนุกก็จริง แต่มักไม่ช่วยในเรื่องของระบบความคิดความสร้างสรรค์ ถ้าลองเทียบก็ลองนึกถึงการอ่านหนังสือดังๆ (ยกตัวอย่าง Harry Potter) กับการดูหนัง หนังมันให้ความสนุกของการดำเนินเรื่อง เทคนิคการถ่ายทำ อารมณ์ของนักแสดง แต่ถ้าอ่านจากหนังสือ เราจะมีจิตนาการที่สุดลูกหูลูกตาในสมองมากกว่า


            ก่อนจะจบ อาจารย์หนูบอกว่า ไม่จำเป็นต้องเชื่อทั้งหมดที่บอกเล่าให้ฟัง เพราะควรจะเอาไปพินิจวิเคราะห์เองว่า เหมาะสมกับแนวความคิดของแต่ละครอบครัวหรือไม่  จบแล้วค่ะ.............

 

                                       ***********************************

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
โรเงรียนอนุบาลเศรษฐบุตร โทร 0-2579-2061, 0-2561-2444, 0-2941-1147 Email Setthabutk@hotmail.com Line ID: Sethaputra